ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ และคำแนะนำ โรคอุจจาระร่วง ในช่วงฤดูร้อน

21 เมษายน 2566
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

“โรคอุจจาระร่วง”

โรคที่ควรระวังในช่วงฤดูร้อน เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน จะพบผู้ที่ป่วยเป็น “โรคอุจจาระร่วง” ได้มากขึ้น เนื่องจากในช่วงฤดูร้อน อากาศที่ร้อนและ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลให้อาหารที่เตรียมไว้รับประทาน มีโอกาส บูด เสียได้ง่าย และเป็นสาเหตุหนึ่งจากหลายสาเหตุที่ท าให้ เกิดภาวะอุจจาระร่วง นอกจากนี้โรคอุจจาระร่วงเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อบิด ซัลโมเนลลา อีโคไล รวมถึงเชื้อปรสิตในล าไส้ และอาจเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรต้า หนอนพยาธิ เป็นต้น โรคนี้ พบได้บ่อย ทุกปีเกิดได้กับประชาชนทุกวัย พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กอายุต่ ากว่า 5 ปีโรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง/วัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้กระหายน้ ากว่าปกติมีไข้สูง ติดต่อโดยการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนมาจากอุจจาระของ ผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ รวมถึงน้ าหรือน้ าแข็งที่ไม่สะอาด ส่งผลให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้ ผู้ที่ได้รับเชื้ออุจจาระร่วงจะมีอาการต่างๆกันตามเชื้อที่ได้รับ กรณีเกิดอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสนั้น เชื้อที่พบบ่อยคือ ไวรัสโรต้า อุจจาระจะมีลีกษณะเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือกลิ่นกรด พบบ่อยในเด็กที่ดื่มนม ส่วนอาการแสดงที่เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น อีโคไล อุจจาระมีลักษณะเป็นน้ าใสเหมือนปัสสาวะ มีกลิ่นคาว เชื้ออหิวาต์ จะถ่ายอุจจาระเป็นน้ าครั้งละมากๆ ในรายที่เป็นรุนแรง อุจจาระมักมีสีขาวขุ่น เหมือนน้ าซาวข้าว มีกลิ่นคาวจัด ซัลโมเนลลาอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ ถ่ายอุจจาระเป็น น้ าสีเขียวในช่วงแรก 2-3 ครั้ง ต่อมาอาจถ่ายเหลว มีมูกและเลือดปน ส าหรับเชื้อซิเกลลาในเด็กจะมีอาการไข้สูงอาจพบอาการชัก ร่วมด้วย ในช่วงแรกอาจถ่ายอุจจาระเป็นน้ า ต่อมาจะถ่ายกะปริดกะปรอยมีมูกเลือดปน มีอาการปวดท้องเหมือนถ่ายไม่สุด อันตรายที่ส าคัญของโรคนี้ คือ การเกิดภาวะขาดน้ าและเกลือแร่ ที่อาจท าให้ช็อก หมดสติ และภาวะขาดสารอาหาร ในช่วงหลังซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ซึ่งภาวะอุจจาระร่วงส่วนใหญ่ จะหายได้เองโดยการรักษาอาการขาดน้ าและเกลือแร่ ด้วยการดื่มสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอส รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด รับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และไม่ควร ทานยาหยุดถ่าย หรือยาแก้ท้องเสีย เพราะจะท าให้ล าไส้กักเก็บเชื้อโรคไว้นานขึ้น นอกจากนี้การทานยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จ าเป็นอาจกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาหรือดื้อยาได้ ทั้งนี้วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงด้วยตนเองสามารถท าได้ง่ายโดย ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ าและสบู่ ทุกครั้งก่อนปรุงหรือ รับประทานอาหารและภายหลังขับถ่ายอุจจาระ ที่ส าคัญคือ ควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด สุกใหม่ ๆ ดื่มน้ าสะอาด เลือก ซื้อน้ าแข็งที่ถูกสุขอนามัย มีภาชนะรองรับ ไม่วางกับพื้นโดยตรง หากเป็นน้้าแข็งหลอดที่บรรจุถุงควรสังเกตรายละเอียด บนฉลากให้ครบถ้วน เช่น ผู้ผลิต และชื่อที่ตั้งสถานที่ผลิต เครื่องหมายอย. ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆดิบๆ และหาก จ าเป็นต้องรับประทานอาหารค้างมื้อควรอุ่นให้ร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ควรล้างท าความสะอาด เก็บให้พ้นจากสัตว์น าโรค เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน รวมถึงการขับถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ าเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารก หากอาการอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น คือมีอาการถ่ายเป็นน้ ามากขึ้น อาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ ามากกว่าปกติ มีไข้สูง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อ รับการรักษา

ส าหรับการป้องกันดูแลรักษาสุขภาพที่ดี ประชาชนควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะด้วยการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” รับประทานอาหารสุก ร้อน สะอาด เพื่อสุขภาพที่ดี ปลอดจากโรคอุจจาระร่วงได้และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ า ส านักโรคติดต่อทั่วไป โทร 02-590-3180

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!