ประชาสัมพันธ์การรักษาแม่น้ำลำคลอง ดูแลไม่ให้น้ำเน่าเสีย

21 เมษายน 2560
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

คลังความรู้ น้ำ : การป้องกันน้ำเสีย

20120220105842nqtqr.jpg

น้ำสะอาดตามปกติ จะมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำปริมาณหรือค่า DO(DISSOLVED OXYGEN) ปริมาณ7-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้ามีมากกว่านี้ก็จะซึมไปในบรรยากาศ ถ้ามีน้อยกว่านี้ ออกซิเจน ในบรรยากาศก็จะซึมเข้าไปในน้ำ ทั้งนี้การจะซึมเข้าไปได้เร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับการกกระเพื่อมของผิวน้ำ ออกซิเจนในน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปลาหรือสัตว์น้ำอาศัยอยู่ได้ ต้นน้ำลำธารของประเทศไทยนั้น น้ำยังคงใสสะอาด แต่เมื่อไหลผ่านแหล่งชุมชนก็จะเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น เพราะชุมชนเหล่านั้นได้เพิ่มปริมาณความสกปรกเข้าสู่แหล่งน้ำนั่นเอง ท่านก็เป็นคนหนึ่งใช่หรือไม่ที่อยากเห็นแม่น้ำลำคลองของไทยใสสะอาด

 

น้ำเน่า

สารอินทรีย์ต่างๆ ที่ย่อยสลายได้เมื่อถูกทิ้งลงไปในแหล่งน้ำ จะถูกจุลินทรีย์ในน้ำย่อยสลาย ในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์นั้นจะต้องใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ หากมีสารอินทรีย์มากก็จะใช้ออกซิเจนทำการย่อยสลายมาก ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ และจะทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำเช่น ปลา กุ้ง หรือสัตว์น้ำบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ยิ่งเมื่อออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำหมดไป แต่ยังมีสารอินทรีย์เหลืออยู่ จุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายเข้ามาทำหน้าที่แทนซึ่งจะทำให้เกิดก๊สซมีเทน ก๊าซไฮโดนเจนซัลไฟล์ หรือก๊าซไข่เน่าที่มีกลิ่นเหม็นและทำให้น้ำมีสีดำสกปรก ต่อไปท่านคงไม่ทิ้งสิ่งของต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำอีกแล้วนะ

 

สารพิษในน้ำ

น้ำเน่าที่เราเห็นตามปกตินั้น นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำนั้น แล้วยังทำให้น่าขยะแขยงไม่น่าดู แต่น้ำบางแห่งอาจจะดูไม่เน่าเหม็น ก็อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและสิ่งมีชีวิตโดยรอบรวมทั้งคนเราได้เหมือนกัน ซึ่งก็คือน้ำที่มีสารพิษเจือปน เช่น สารปรอท สารตะกั่ว หรือแคตเมี่ยมโดยสารพิษพวกนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการแอบปล่อยออกจากโรงงานทั้งเล็กและใหญ่ นอกจากนั้นน้ำจากไร่นาที่ระบายลงสู่แม่น้ำลำคลอง ก็ยังจะพาเอาสารเคมีที่ใช้ในไร่นาเหล่านั้นลงมาพร้อมกันด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในบริเวณนั้นและ ต่อคนที่นำน้ำไปใช้อีกด้วย อย่างนี้เรียกว่าเกิดมลพิษทางน้ำขึ้นแล้ว เราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา เห็นใครแอบปล่อยต้องรีบแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว

 

ของเสียที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ

  • สารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้ เช่น น้ำแกง น้ำล้างในครัว น้ำเชื่อม ปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น
  • สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำ เช่น กระดาษ เศษเนื้อ เศษผัก ใบตอง เป็นต้น
  • สารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำได้ เช่น สารปรอท ตะกั่ว สังกะสี แคตเมี่ยม สารเคมีจากอุตสาหกรรมต่างๆ
  • สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ท่อนเหล็ก ท่อนไม้ ตะกรัน โลหะและของแข็งชนิดต่างๆ

 

น้ำเสียจากชุมชน

น้ำเสียที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาตินั้น โดยทั่วไปน้ำเสียจากชุมชนมีปริมาณที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบ้านเรือน โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม ร้านอาหารและตลาดเป็นต้น ส่วนใหญ่มักเป็นสารอินทรีย์และสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น น้ำจากส้วม น้ำจากครัวและไขมันต่างๆ นอกจากนั้นน้ำเสียจากโรงพยาบาลที่ไมีมการบำบัดก่อนปล่อยทั้งก็จะมีเชื้อโรคและพยาธิปะปนอยู่ด้วย เนื่องจากการขับถ่ายของผู้ป่วยหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

 

น้ำเสียจากอุตสาหกรรม

น้ำทิ้งจากการอุตสาหกรรมนั้นมาจากขบวนการต่างๆ ในโรงงาน เช่น ขบวนการผลิตโดยตรง จากขบวนการล้างต่างๆ หรือจาการหล่อเย็นซึ่งแต่ละโรงงานจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันออกไปเช่น อุตสาหกรรมทางการเกษตร เช่น โรงงานแปรรูปผลผลิตารเกษตรน้ำทิ้งจะเป็นประเภทมีสารอินทรีย์มากความสกปรกสูงทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง อุตสาหกรรมโลหะต่างๆ จะมีสารพิษจำพวกโลหะหนักปะปนออกมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น การผลิตยา ปุ๋ย กระดาษ สีเป็นต้น จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง อาจมีสารพิษปะปนมา บางชนิดทำให้สี รส หรือกลิ่นของน้ำเปลี่ยนแปลงไป อุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่วนใหญ่เกิดจากการฟอกย้อมสี ซึ่งมีการใช้สารเคมีทำให้น้ำเน่าเปลี่ยนสีเป็นการทำลายสภาพแหล่งน้ำและอาจมีโลหะหนักปะปนมาก

 

น้ำเสียจากเกษตรกรรม

  • น้ำเสียจากการเพาะปลูก จะประกอบด้วยปุ๋ยส่วนมาก เมื่อไหลลงสู่แแหล่งน้ำจะทำให้พืชที่ขึ้นในน้ำนั้น เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น สาหร่ายต่างๆ และผักตบชวา นอกจากสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชที่เข้มข้น อาจทำให้สัตว์น้ำต่างๆ ตายและสูญพันธ์ได้
  • น้ำเสียจากกิจกรรมปศุสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มสุกร ซึ่งมีมูลสัตว์ เศษอาหารและน้ำล้างคอกจะมีค่าความสกปรกสูงและมีปริมาณมาก
  • น้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งมักนิยมทำให้ใกล้ๆ แหล่งน้ำและระบายอินทรียพ์วัตถุที่เกิดจากอาหารที่ใช้เลี้ยง และของเสียที่สัตว์ถ่ายออกมาก็จะทำให้ ค่าออกซิเจนในน้ำลดต่ำลงเรื่อยๆ ถ้าไม่เร่งให้มีการผลิตมากๆ และลดการใช้สารเคมีทั้งหลายจริง ก็จะเป็นการช่วยรักษา แหล่งน้ำให้มีคุณภาพดีต่อไปนานๆ

 

การรักษาแหล่งน้ำโดยใช้ถังดักไขมันประจำบ้านและร้านอาหาร

คราบไขมันจากการทำอาหารต่างๆ คือ ตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวน้ำถูกบดบังและทำให้อากาศ ไม่สามารถซึมผ่านลงไปในน้ำได้ เมื่อในน้ำขาดออกซิเจนแหล่งน้ำนั้นก็จะเน่าเสีย บ่อดักไขมันเป็นเครื่องมือการบำบัดขั้นต้น โดยนำน้ำที่ใช้แล้วจากครัวจะไหลผ่านตะแกรงดักเศษอาหารต่างๆ ออกก่อนแล้วผ่านเข้าไปในบ่อดักไขมัน ซึ่งเมื่อทิ้งไว้ในระยะหนึ่ง ไขมันจะลอยตัวขึ้นมาสะสมกันบนผิวน้ำแล้วจึงตักออกไปกำจัดโดยทิ้งในรถเก็บขยะหรือนำไปฝังดินหรือไปทำปุ๋ยได้

 

การรักษาแหล่งน้ำโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป

การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาเกินความจำเป็นของต้นไม้มีเพาะปลูก จะทำให้ปุ๋ยส่วนเกินไหลลงสู่แหล่งน้ำทำให้น้ำ มีแร่ธาตุมากเกินไป พืชน้ำทั้งเล็กและใหญ่จะแพร่พันธุ์และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เช่น แพลงด์ตอนในน้ำ จอก แหน และผักตบชวา ซึ่งจะมีผลต่อการแย่งใช้ออกซิเจนระหว่างพืชกับสัตว์น้ำ

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!